วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หมากสง





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu L.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : -
ชื่ออื่น : หมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 15 – 20 เซนติเมตร สูงถึง 25 เมตร ลำต้นเปลาตรง มีปล้องสีขาวเด่นชัด คอยอดสีเขียว กาบใบยาว ประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร ลักษณะเป็นท่อห่อหุ้มคอยอด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก(pinnate) แผ่นใบยาว 1.5 – 2 เมตร มีใบย่อย 20 – 30 คู่ ขนาด 30 – 60 x 3 – 7 เซนติเมตร ใบย่อยแบบรางน้ำคว่ำ (reduplicate)ปลายตัด หยักเป็นซี่ เรียงตัวสม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน ช่อดอกออกใต้คอยอด (infrafoliar) ตั้งขึ้น ช่อดอกแยกแขนง 3 ชั้นดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน บริเวณโคนก้านช่อหรือโคนก้านแขนงจะมีกลุ่มดอก ซึ่งประกอบด้วยดอกเพศเมีย 1 ดอก
ขนาบข้างด้วยดอกเพศผู้ 2 ดอก (triad) ส่วนตอนปลายก้านแขนง จะมีเฉพาะดอกเพศผู้ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่ขนาด 4 – 6 x 7 – 8 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีส้ม ผลหนึ่งมี 1 เมล็ด

แหล่งที่พบ : พบขึ้นทั่วไปบริเวณที่ราบโล่ง และมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง

ประโยชน์
1. เมล็ดช่วยขับปัสสาวะปวดท้องแน่นท้อง บิด แผลเน่าเปื่อย ฆ่าพยาธิ เปลือกผล ช่วยขับลม ขับปัสสาวะ
แก้ท้องอืดแน่น บิด ท้องเสีย ผลอ่อนช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้เมาอาเจียน ไอ สมานแผล ดอกตัวผู้ เป็นยาหอม บำรุง
กระเพาะ แก้กระหายน้ำ
2. ชาวบ้านนิยมเคี้ยวหมาก โดยนำ เปลือกผลและ เมล็ดอ่อน เคี้ยวร่วมกับพลู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น