วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หมากสง





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu L.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : -
ชื่ออื่น : หมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 15 – 20 เซนติเมตร สูงถึง 25 เมตร ลำต้นเปลาตรง มีปล้องสีขาวเด่นชัด คอยอดสีเขียว กาบใบยาว ประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร ลักษณะเป็นท่อห่อหุ้มคอยอด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก(pinnate) แผ่นใบยาว 1.5 – 2 เมตร มีใบย่อย 20 – 30 คู่ ขนาด 30 – 60 x 3 – 7 เซนติเมตร ใบย่อยแบบรางน้ำคว่ำ (reduplicate)ปลายตัด หยักเป็นซี่ เรียงตัวสม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน ช่อดอกออกใต้คอยอด (infrafoliar) ตั้งขึ้น ช่อดอกแยกแขนง 3 ชั้นดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน บริเวณโคนก้านช่อหรือโคนก้านแขนงจะมีกลุ่มดอก ซึ่งประกอบด้วยดอกเพศเมีย 1 ดอก
ขนาบข้างด้วยดอกเพศผู้ 2 ดอก (triad) ส่วนตอนปลายก้านแขนง จะมีเฉพาะดอกเพศผู้ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่ขนาด 4 – 6 x 7 – 8 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีส้ม ผลหนึ่งมี 1 เมล็ด

แหล่งที่พบ : พบขึ้นทั่วไปบริเวณที่ราบโล่ง และมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง

ประโยชน์
1. เมล็ดช่วยขับปัสสาวะปวดท้องแน่นท้อง บิด แผลเน่าเปื่อย ฆ่าพยาธิ เปลือกผล ช่วยขับลม ขับปัสสาวะ
แก้ท้องอืดแน่น บิด ท้องเสีย ผลอ่อนช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้เมาอาเจียน ไอ สมานแผล ดอกตัวผู้ เป็นยาหอม บำรุง
กระเพาะ แก้กระหายน้ำ
2. ชาวบ้านนิยมเคี้ยวหมาก โดยนำ เปลือกผลและ เมล็ดอ่อน เคี้ยวร่วมกับพลู

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปาล์มขวด





ปาล์มขวด

ชื่อสามัญ Royal palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ Roystonea reqia

วงศ์ PALMAE

ถิ่นกำเนิด คิวบา (ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ ประจำชาติของประเทศคิวบา)

ลักษณะโดยทั่วไป
ลักษณะทั่วไป ปาล์มขวดนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ ตอนที่ยังเล็กอยู่จะป่องพองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้นอาการป่องพองนี้ก็จะไปเกิดที่กลางลำต้น โตเต็มที่
ลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร ใบยาว 3-5 เมตร ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกออกจากแกนกลางใบเป็นแถว มีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามขอบถนนหรือปลูกในสนามหญ้าก็ได้

การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ดเพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ ในระยะที่กำลังเจริญเติบโตจะต้องการน้ำมาก
ดิน ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ปีละ 2 ครั้ง
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่เป็นปัญหา





ปาล์มขวดยักษ์

ชื่อสามัญ : Caribbean Royal Palm

ชื่ออื่น : ปาล์มขวด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea oleracea var.oleracea

ถิ่นกำเนิด
: เวสต์อินเดีย

เป็นปาล์มขวดต้นที่สูงที่สุดในบรรดาปาล์มขวดด้วยกัน โคนป่องปลายเรียว ข้อห่างคอใบยาว เหมาะปลูกเป็นแถว และเป็นกลุ่ม

หมากนวล






ชื่อวิทยาศาสตร์ : Veitchia merrillii (Becc.) H.E. Moore
ชื่อวงศ์ : Palmae
ชื่อสามัญ : Manila palm, Christmas palm
ชื่อพื้นเมือง : หมากคอนวล หมาเยอรมัน หมากมนิลา
ชนิดพืช [Plant Type] : ปาล์มต้นเดี่ยว
ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 15 เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีเหลืองนวล
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ช้า
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แสงแดดจัด

ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นสีน้ำตาลปนเทาขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร มีคอสี
เขียวนวลยาว 30-50 เซนติเมตร มีรอยหลุดของก้านใบ ถี่ชัดเจน
ใบ (Foliage) : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 45-75
เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียว
ดอก (Flower) : สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรี ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ติดผลจำนวนมาก ผลสุกสีีแดงส้ม
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย นิยมปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถว ริมถนน ริมทางเดิน ในสวนสาธารณะ ปลูกริมทะเลได้

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หมากเขียว



ชื่อไทย หมากเขียว
ชื่อสามัญ Mac Arthur palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ptychosperma macarthuri
ตระกูล PALMAE
วงศ์ PALMAE
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะนิวกินี

ลักษณะโดยทั่วไป
หมากเขียวนี้จะแตกหน่อขึ้นเป็นกอรอบลำต้นลักษณะของกอสูงประมาณ 10 - 20 ฟุต ลำต้นมีขนาด 3 - 4 นิ้ว มีสีเขียวปนเทาหรือน้ำตาลปนเทา เมื่อแก่มีข้อปล้องที่มองเห็นได้ชัดที่ลำต้นใบมีสีเขียวแก่ ส่วนใต้ใบสีเขียว อ่อนมีลักษณะรูปขนนก ทางใบยาวประมาณ 8 - 9 ฟุต ก้านใบยาว 1 - 2 ฟุต ใบย่อยยาวประมาณ 3 - 4 ฟุต ปลายใบตัดและเป็นฟันแหลม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก สามารถอยู่ได้ทั้งในร่มและกลางแดด

การดูแลรักษา
แสง ชอบแสงแดดจัด ควรปลูกเอาไว้กลางแจ้ง
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง
การขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกหน่อ
โรคและแมลง โรคไม่ค่อยพบ ส่วนมากจะพบเพลี้ยโดยเฉพาะหน้าร้อน
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออนหรือไดอาซินอนตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลาก

ศัตรูของปาล์ม

ปาล์มก็เป็นพันธุ์ไม้ที่มีศัตรูต่างๆ มากมายเช่นเดียวกับพันธุ์ไม้ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะปาล์มที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก มนุษย์สนใจและพบว่าปาล์มชนิดนั้นๆ มีศัตรูมากมาย ปาล์มอาจถูกศัตรูทำลายได้ตั้งแต่แรกเกิดจากเมล็ดเป็นต้นอ่อน จนต้นโต ถูกศัตรูทำลาย ลำต้น ใบ ดอก และผล ศัตรูที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มนั้นมีมากมายทั้งโรค แมลงและสัตว์อื่นๆ เช่น หนู ลิง นกบางชนิด ฯลฯ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็นศัตรูใหญ่ๆ 3 จำพวกด้วยกันคือ

1. พวกโรค ซึ่งมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อราและโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย และโรคที่มีสาเหตุอื่นๆ โรคที่เกิดจากพวก Parasitic และ saprophytic organisms เช่น
เชื้อราที่ทำให้เกิดการเน่า
โรคนี้จะเกิดกับปาล์มพวก Arecastrum romanzoffianum, มะพร้าว, Phoenix sylvestris, Serenoa repens, Phoenix canariensis, sabal palmetto, Arikutyroba schizophylla, และหมากสง อาการของโรคคือ ต้นปาล์มจะชะงักงันการเจริญเติบโต ใบร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วก็แห้งตายแล้วก็ค่อยๆ กินกับใบอื่นๆ ต่อไป ใบยอดจะสั้นลง จะมีอาการอยู่ประมาณเป็นเดือนหรือปีๆ แล้วในที่สุดก็ตาย โรคนี้แผ่ขยายเร็วมาก ถ้าเกิดแก่มะพร้าว ผลได้ของมะพร้าวจะลดลงทันทีน้ำมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและน้ำเหนียวขันขึ้น เชื้อราจะมี spore สามารถปลิวไปตามลม การป้องกันโรคนี้ทำได้ยาก ถ้าหากว่าเชื้อรานี้เกิดแก่ต้นปาล์ม ก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็น วิธีการป้องกัน ถ้าหากทราบว่าโรคนี้ได้ระบาดกับปาล์มแล้ว ก็ป้องกันต้นอื่นๆ โดยใช้ผงกำมะถันโรยบนดินรอบๆ ต้นปาล์ม ต้นที่เป็นแล้วให้เผาทำลาย
โรคลำต้นเน่า
ส่วนมากเกิดแก่พวก Washingtonia ใบปาล์มจะเน่าตายภายใน 3 เดือน นับจากใบที่อยู่ชิดกับต้นไม้ไปสู่ปลายใบ ถ้าเกิดแก่พวกกล้าปาล์ม จะเน่าตายภายใน 10 วัน จะเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสูงๆ
โรค Canker
เกิดขึ้นแก่ลำต้นปาล์มพวก Arecastrum, เกิดจากเชื้อราพวก nematodes โรคนี้ทำให้เกิดเน่าที่กาบใบ และทำให้เกิดเน่าที่ตายอด
โรค Red ring
เกิดแก่มะพร้าว เกิดจากไส้เดือน Aphelenchoides cocophilus เช่นพวก nenatodes เกิดแก่ปาล์มที่ต้นยังเล็กอยู่ อาการที่เกิดขึ้นทำให้ขอของลำต้นมีสีแดงน้ำตาล การป้องกันทำลาย เผาต้นที่เกิดโรคนี้ และหาทางป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน

2. พวกแมลง มีแมลงหลายสิบชนิด ทั้งแมลงตัวโตและแมลงตัวเล็กๆ ที่มองเกือบไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีแมลงหลายสิบชนิดที่เป็นอันตรายแก่ต้นปาล์ม อาจทำให้ปาล์มแคระแกรนไม่เจริญเติบโต ได้แก่
• เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย วิธีการป้องกัน กำจัดนั้นก็คือ ใช้ยาฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ ยาที่ฉีดกำจัดเพลี้ยหอยนั้นก็คือ พวกน้ำมัน Oil emulsion
• เพลี้ยแป้ง ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกัน วีธีการป้องกันกำจัดใช้วิธีเดียวกับการป้องกันเพลี้ยหอย
• เพลี้ยอ่อน มีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้งคือ ตัวมันจะขับถ่ายสารละลายลักษณะขี้ผึ้งสีขาวออกมารอบๆ ตัวเป็นสีขาวๆ เมื่อนานๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีดำฉาบอยู่ตามผิวหน้าส่วนของปาล์มที่ถูกเจาะดูดกินน้ำเลี้ยง การป้องกันกำจัดนั้นใช้ยาพาราไทออน
• พวกหนอนม้วนใบ เป็นพวกแมลงปากกัด ทำลายใบในลักษณะเป็นตัวหนอนกัดกินใบมีหลายชนิดด้วยกัน จะกินใบหมดเหลือแต่เส้นแกนกลางใบเท่านั้น
• พวกผีเสี้อกลางคืน มี 2 ชนิดด้วยกันที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มคือ
B.mathesoni กัดกินยอดมะพร้าวอ่อนๆ กัดกินในผล ทำให้ผลร่วงก่อนถึงกำหนด ยาที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกนี้ใช้ในระยะที่เป็นตัวหนอนกำลังกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม เช่นสารหนู ตะกั่ว
• พวกหนอนปลอก เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
• พวกด้วงปีกแข็ง เป็นศัตรูที่ร้ายกาจพวกหนึ่งที่ทำให้ปาล์มตายได้ วีธีการป้องกันก็คือ จัดสวนให้สะอาด อย่าไม้มีท่อนไม้ ตอไม้ตายเก่าๆ อยู่ใกล้เคียง ยาที่ใช้กำจัดแมลงพวกนี้คือพวก เบ็นชินเฮกศ่คลอไรด์
• พวกด้วงงวง พวกนี้เกิดแก่ พวก Sabal และปาล์มพวก Phoenix Canariensis, มะพร้าว การทำลายจะเห็นได้ชัดที่ใบอ่อนที่ยอดหักพับแตกกระจายลง วีธีการป้องกันโดยทำความสะอาดสวน ไม่ปล่อยให้มีตอไม้ ท่อนไม้ผุๆ หญ้ารกๆ พบตัวอ่อนทำลายเสีย คนไทยใช้วิธีป้องกันมะพร้าวจากด้วงชนิดนี้ โดยใช้ทรายผสมกับเกลือ โรยตามคอกาบใบของมะพร้าว
• พวกมวน เกิดแก่ปาล์มขวด ลักษณะปีกใสบางมีเส้นคล้ายร่างแห การป้องกัน ใช้พ่นด้วยยาคลอเดน
• พวกปลวก เกิดแก่ลำต้นปาล์มที่แก่ๆ และมีเปลือกผุตายแล้ว วิธีป้องกัน คือ พยายามบำรุงปาล์มให้เจริญเติบโตแข็งแรง สะอาด และอาจใชัยาออลดริน ฉีดพ่น
• พวกเพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อนของปาล์ม โดยเฉพาะพวกปาล์มขวด จะทำให้ใบเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และน้ำตาล ในที่สุดก็แห้งตาย วิธีการป้องกัน ฉีดด้วยยาดีลดริน ในรูปสารละลายปนน้ำมันหรือพ่นเป็นยาผง
• พวกไร ส่วนมากเกิดแก่ปาล์มขวด โดยเฉพาะที่ใบอ่อน จะทำให้ตายในที่สุด วิธีป้องกัน คือ ใช้กำมะถันผงพ่นแห้ง หรือเป็นน้ำก็ได้
• พวกตั๊กแตน เป็นศัตรูที่ร้ายกาจอย่างหนึ่งของปาล์ม โดยเฉพาะปาล์มที่ยังมีขนาดเล็ก ถ้าหากมีมากๆ จะกัดกินใบขาดและหมดแม้แต่แกนกลางใบก็หมด กัดกินตลอดทั้ง 24 ช.ม. วิธีการป้องกัน ฉีดยาพ่นตามใบ หรือใช้เหยื่อพิษล่อ

3. พวกศัตรูอื่นๆ ได้แก่
หมูป่า ในต่างจังหวัดนั้นการปลูกมะพร้าวมักจะถูกหมูป่าเข้ามาขุดคุ้ยกัดกินต้นมะพร้าวที่อ่อนๆ เสียหาย
กระรอก ทำลายมะพร้าวให้เสียหายอย่างมาก โดยเจาะรูตามกาบใบ และเจาะผลมะพร้าวกินเนื้อภายใน
การป้องกันหมูป่านั้นอาจทำกับดัก หรือมีลวดล้อมรอบโคนต้น ป้องกันกระรอก ใช้ปลอกสังกะสีหุ้มลำต้น
กิ้งก่า มาทำรังในกระถางออกไข่ ออกลูก แล้วกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน
หนูบ้าน เป็นศัตรูชนิดหนึ่งที่ชอบขโมยเมล็ดปาล์มที่เพาะไว้ไปกิน

ประโยชน์ของปาล์ม



1. อาหารจากปาล์ม ในการประกอบอาหารส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันที่ผลิตจากผลของปาล์ม มะพร้าวให้กะทิ และน้ำมัน น้ำตาลจากมะพร้าว ตาลจากอินทผลัม แป้งจากสาคู และลูกชิด ฯลฯ
2. ที่อยู่อาศัย โดยใช้ส่วนต่างๆ ของปาล์มมาเป็นที่อยู่อาศัยก่อนพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น การนำใบจากมามุ้งหลังคา ต้นมาหมาก ต้นเหลา ซะโอนใช้ทำเสาบ้านเรือน ต้นมะพร้าวทำพื้น และฝาบ้าน นอกจากนี้ยังใช้หวายผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
3. เครื่องนุ่งห่ม ปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่ม ผลของปาล์มนำมาเป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสง ปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้เช่นกัน
4. ยารักษาโรค ปาล์มหลายชนิดสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้อาจจะใช้ในรูปที่สกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมัน ยาไทยโบราณหลายชนิดใช้หลากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก แก้ร้อนใน เนื้อในของหมากใช้สมานแผล แก้ท้องร่วง ใบหมากแก้ไข น้ำมะพร้าวเป็นยาบำรุงครรภ์และใช้ถอนพิษเบื่อเมา น้ำมันมะพร้าวผสมและปรุงยาและน้ำมันนวดแก้ฟกซ้ำ รักษาบาดแผลและฝี แขนงช่อดอกของตางตัวผู้หรือเรียกว่าวงศ์ตาล ใช้ปรุงเป็นยาแก้ตาลขโมย เป็นต้น
5. การใช้ปาลืมเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ นั้น เนื่องจำปาล์มมีลักษณะให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมตามความรู้สึกของผู้ใช้และผู้พบเห็น มีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่ เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อย รูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสัน จึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือ ขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม ซึ่งมักจะมีต้นปาล์ม เข้าไปเป็นส่วนประกอบที่เพิ่มความงดงามอยู่เสมอ นอกจากนั้นปาล์มยังสามรถนำมาปลูกในกระถางแล้วนำไปวางประดับภายในอาคารใช้เป็นไม้ในร่มได้เป็นอย่างดี มีลีลาที่สวยงามไม่แพ้ไม้ประดับในร่มชนิดอื่น ๆ เช่นกัน

หมากเหลือง




หมากเหลือง Areca Palm หรือ Yellow Palm
ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ 1 ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูกไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือน


หมากเหลือง เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคารและคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5–10 เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนก แผ่นใบมีสีเขียวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chrgsalido carpus lutesers
วงศ์ : Arecaceae (Palm)
ถิ่นกำเนิด : มาดากัสก้า
แสงแดด : แดดจัด
อุณหภูมิ : 18–24 องศาเซลเซียส
ความชื้น : ต้องการความชื้นสูง
น้ำ : ต้องการน้ำมาก
การดูแล : ควรให้น้ำตอนเช้าวันละครั้ง แต่อย่าให้แฉะ ให้ปุ๋ยคอกอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง หมั่นฉีดพ่นใบด้วยละอองน้ำ จะช่วยป้องกันแมลงได้
การปลูก : นิยมปลูกลงกระถาง โดยใช้ดินที่สมบูรณ์ มีส่วนผสมของดินร่วน ทรายแกลบ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ผุ ในอัตราส่วน 4:2:1:2:1
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดหรือแยกกอ
อัตราการคายความชื้น : มาก
อัตราการดูดสารพิษ : มาก

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การขยายพันธุ์ปาล์ม




















การขยายพันธุ์ปาล์ม ทั่ว ๆ ไปมีการขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ ใช้เมล็ดเพาะ และแยกหน่อจากต้นเดิม ทั้งนี้ก็เพราะปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ยืนต้น ไม่มีเปลือกและเนื้อไม้ที่มีเนื้อเยื่อเจริญให้รากแตกออกได้ ดังนั้นการขยายพันธุ์ของปาล์มจึงใช้เมล็ดเป็นเครื่องขยายพันธุ์และอาจใช้หน่อที่แตกออกจากต้นแม่ เป็นการขยายพันธุ์ก็ได้ 2 วิธี
1. การขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ การขยายพันธุ์ปาล์มโดยวิธีนี้จะทำได้เฉพาะแต่ปาล์มชนิดที่มีหน่อเท่านั้น เช่น หมากเขียว หมากเหลือง หมากแดง ยูเทเฟ้ จั๋ง ปาล์ม ไผ่ เป็นต้น ซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้

• เลือกหน่อที่เชื่อแน่ได้ว่า หน่อนั้นมีรากแล้วอย่างน้อย 3 ราก

• ควรใช้วิธีตัดตาทิ้งไว้กับต้นแม่สักระยะหนึ่งประมาณ 30 วัน จากนั้นจึงแยกปลูกลงกระถางหรือที่ ๆ ต้องการปลูก พึงระวังอย่าให้ถูกแสงแดดจัดในระยะแรก

• ถ้าจะขุดแยกทีเดียวควรนำปลูกในกระถางในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ วัสดุชำควรจะใช้ทรายผสมกับถ่านแกลบในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน แล้วเก็บไว้ในร่ม

2. การขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด คือ การนำเมล็ดปาล์มที่เห็นว่าแก่ดีแล้ว มาเพาะขยายพันธ์โดยการปฏิบัติดังนี้

• นำเมล็ดพันธ์ที่เก็บจากต้นแกะเปลือกออกล้างเมล็ดให้สะอาด(มีปาล์มบางชนิดที่สัมผัสกับผิวหนังแล้วจะคัน) ผึ่งไว้ให้แห้งในที่ ๆ มีความชื้นน้อย ๆ อย่านำตกแดดโดยเด็ดขาด

• ก่อนนำไปเพาะพิจารณาดูว่าปาล์มชนิดใดเปลือกหนาและแข็งแรงมากน้อยอย่างไร ถ้าเปลือกแข็งมากให้นำเมล็ดปาล์มนั้นแช่น้ำเสียก่อนอย่างน้อย 5-10 วัน จึงนำไปเพาะ ถ้าเป็นเมล็ดเก่าเมื่อแช่น้ำจะมีเมล็ดส่วนหนึ่งลอยน้ำ แสดงว่าคุณภาพไม่ดีควรทิ้งไป

• ส่วนผสมของเครื่องเพาะ โดยทั่วไปจะใช้ทรายหยาบ และถ่านแกลบอย่างละเท่า ๆ กัน จะแยกกระถางหรือถุงเพาะหรือจะเพาะลงในภาชนะรวมเลยก็ได้ การงอกวิธีเพาะรวมจะมีประสิทธิภาพดีกว่า เพราะมีการแผ่ความร้อนสู่เมล็ดซึ่งกันและกัน

• การวางเมล็ดจะวางลอยหรือให้ลึกในส่วนผสมของวัสดุเพาะประมาณ 1-2 ซม. การวางเมล็ดให้จมเมื่อปาล์มงอกจะมีความแข็งแรงกว่า

• ก่อนทำการเพาะควรจะได้คุกยาฆ่าเชื้อราเสียก่อน

• เมื่อปาลืมงอกดีแล้ว ควรแยกขณะที่ใบเลี้ยงโผล่จากวัสดุเพาะสัก 1-2 นิ้ว และพึงระวังอย่าให้เมล็ดหลุด ขณะที่ปาล์มกำลังกินอาหารที่อยู่ในเมล็ดถ้าหลุดก็จะตาย

• ในวิธีการหนึ่ง คือ การเพาะในถุงพลาสติก โดยใช้ขุยมะพร้าว ปิดปากถึงให้แน่นและแขวนไว้ เมื่อมันงอกก็จะมองเห็นรากสีขาวโผล่ออกมา จึงนำลงไปปลูกในกระถางได้

• ปาล์มที่เปลือกแข็งมาก ๆ บางครั้งต้องนำไปใส่น้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 30 ก่อนทำการเพาะ

ลักษณะของปาล์ม



ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด กล่าวคือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่ไม่ได้มีลำต้นสูงพ้นดิน แต่ก็มีลักษณะใบแบบปาล์ม ทำให้สังเกตได้ไม่ยากนัก ทยาย

ลำต้น
ปาล์มส่วนมากมีลักษณะลำต้นเดี่ยว งอกขึ้นจากพื้นต้นเดียว ไม่แตกหน่อ หรือแตกกิ่ง เช่น มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ำมัน ตาล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่มีลำต้นเดียวแต่มีการแตกกอขึ้นในที่ใกล้กัน จึงปรากฏเป็นกอใหญ่ เช่น หมากแดง หมากเหลือง ปาล์มไผ่ ส่วนปาล์มที่มีขนาดลำต้นเล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
นอกจากลักษณะเด่นทั้งสองแล้ว ยังมีลำต้นที่แตกกิ่ง เช่น ปาล์มกิ่ง (Hyphaene thebaica) นับว่ามีลักษณะที่โดดเด่นจากปาล์มชนิดอื่นๆ มากทีเดียว ส่วนปาล์มที่มีขนาดเล็กจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เช่น ระกำ หรือลำต้นทอดไปตามพื้นดิน เช่นจาก และลำต้นเป็นเถาเลื้อย ได้แก่ หวาย ทุกชนิด
ปาล์มส่วนใหญ่จะมีต้นสูง สามารถแบ่งเป็นสามส่วน คือ เรือนยอด (crown) ตั้งแต่ก้านใบขึ้นไป, คอยอด (Crownshaft) อยู่ระหว่างลำต้น และพุ่มใบ, และส่วนลำต้น (trunk) ตั้งแต่โคนขึ้นมาจนถึงคอ
ข้อหรือวงแหวนรอบลำต้นนั้น นับเป็นจุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งของปาล์มทีเดียว ซึ่งเกิดจากการร่วงหลุดของก้านใบนั่นเอง บางชนิดเมื่อร่วงแล้วลำต้นเกลี้ยง บางชนิดแม้ใบจะเหี่ยว แต่ก้านใบก็ไม่หลุดเสียเลยทีเดียว
ปาล์มบางสกุลมีลำต้นที่อ้วนป่องตรงกลาง (ปาล์มขวด,ปาล์มแชมเปญ) มีการสะสมน้ำไว้ในลำต้นขณะที่ปาล์มขนาดเล็กบางชนิดมีรกพันที่ลำต้น (จั๋ง, เคราฤๅษี)


ใบ
ลักษณะใบของปาล์ม ถือเป็นจุดเด่น และว่าเป็นข้อสังเกตที่สำคัญ เพราะในของปาล์มนั้นเป็นใบประกอบ มีก้านใบที่ยาว และมีใบย่อยเรียงรายจำนวนมาก ใบอ่อนเป็นก้านยาวชูขึ้นไปบนยอด แล้วคลี่ขยายออกมาออกมา จำแนกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ใบรูปขนนก และใบรูปพัด หรือฝ่ามือ
 ใบรูปขนนก (Pinnate) มีก้านใบเป็นแกนกลาง และมีใบย่อยเรียงสองข้าง ที่เห็นชัดก็ได้แก่ มะพร้าว หมาก ปาล์มขวด นอกจากนี้ยังมีใบของเต่าร้าง ที่เป็นรูปขนนกสองชั้น และใบปาล์มหางกระรอก เป็นใบพวง
 ใบรูปพัดหรือรูปฝ่ามือ (fan leaf, palmate leaf) กล่าวกันว่า ชื่อของปาล์ม (palm) ก็มาจากลักษณะที่คล้ายกับฝ่ามือ (palm) นั่นเอง ใบรูปพัด มีลักษณะคล้ายพัดจีน มีใบย่อยแตกออกจากจุดปลายของก้านใบในรัศมีวงกลม แผ่ออกไป ติดกันบ้าง แยกกันบ้าง เช่น ใบตาล ลาน ปาล์มพัด เป็นต้น
มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากใบของพืชจำพวกปาล์มมาช้านาน ที่รู้จักกันดีก็คือใบจาก ใช้มุมหลังคา ห่อขนม (ขนมจาก) ขณะที่ในชนบท ยังนิยมใช้ใบจากมวนยาเส้นใช้สูบ ส่วนมะพร้าวนั้นใบค่อนข้างแคบ นำมาตัดเป็นแถวสั้นๆ คาดห่อใบตอง อย่างห่อหมก ขนมสอดไส้ เป็นต้น เมื่อเลาะใบออก เหลือก้านใบ สีเหลืองตัดเป็นท่อนสั้นๆ ใช้เป็นไม้กลัด หรือนำก้านยาวๆ มามัดรวมกันเป็นไม้กวาดก้านมะพร้าว
ใบของกะพ้อ มีลักษณะคลี่บานเหมือนพัด คลี่ออกแล้วห่อขนมได้ ส่วนใบลานนั้น เหนียวและหนาพอที่จะใช้จารอักษรโดยเฉพาะ คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาได้ และยังเก็บได้เป็นเวลานานนับร้อนๆ ปี นอกจากนี้ยังใช้ทำงานจักสานได้ด้วย


ผล
ผลของพืชจำพวกปาล์มโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดที่หลากหลาย ตั้งแต่เล็กมาก เช่น หวาย จนถึงขนาดปานกลาง เช่น หมาก อินทผลัม และขนาดใหญ่ อย่างมะพร้าว หรือมะพร้าวแฝด ผลปาล์มหลายชนิดรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี ก็คือ ตาล จาก ชิด สละ ระกำ มะพร้าว หมาก (ใช้เคี้ยว) ปาล์มที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุด คือ มะพร้าวแฟด (coco-de-mer)
ลักษณะผลของปาล์มส่วนใหญ่มีความคล้ายกัน บางชนิดก็มีผลเล็กมาก ออกเป็นช่อ เป็นทะลายเช่นเดียวกับหมากและมะพร้าว ส่วนเปลือกของผลระกำและสละนั้นบางมาก เปลือกนอกของปาล์มหลายชนิดเป็นเส้นใยเกาะตัวหนาแน่น ผลปาล์มส่วนใหญ่เหมาะแก่การแพร่พันธุ์เป็นอย่างยิ่ง หลายชนิดมีเปลือกนอกที่เบา มีเส้นใยเกาะหนา ลอยน้ำได้ บางชนิดมีเปลือกบาง เป็นอาหารของสัตว์ป่า เมื่อคายหรือขับถ่ายเมล็ดออก ก็จะงอกงามได้ต่อไป


ดอก
จั่น หรือ ดอก ของพืชในวงศ์ปาล์มไม่ได้มีกลิ่นหอม ไม่มีกลีบดอกสวยงาม โดยมากเป็นดอกขนาดเล็ก และแข็ง ดอกของปาล์มนั้นประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3-6 อัน หรือมากกว่า เกสรตัวเมียมีรังไข่ 1-3 อัน ดอกของปาล์ม ออกเป็นช่อเป็นพวง ช่อดอกที่ยังอ่อนของปาล์มหลายชนิด เมื่อปาดส่วนปลายออก จะได้น้ำหวาน ทำน้ำตาลสด น้ำตาลปึก และน้ำตาลเมา ได้
ปาล์มส่วนใหญ่จะออกดอกเป็นระยะเรื่อยไปตลอดอายุขัย แต่มีปาล์มบางชนิดออกดอกครั้งเดียวเท่านั้น ทว่ากว่าจะออกดอกนั้นใช้เวลานานมาก เมื่อออกดอกและให้ผลแล้วต้นก็จะตายไป เนื่องจากใช้อาหารที่สะสมในลำต้นจนหมด ปาล์มที่มีลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ สาคู

หมากแดง






ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyrtostachys renda Blume
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : -
ชื่ออื่น : กับแดง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นปาล์มแตกกอ ขนาดกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 6 -10 เซนติเมตรสู งถึง 20 เมตร ลำต้ นเปลาตรง มั กมีรากอากาศช่วยพยุ งลำต้นให้พ้นน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะของพันธุ์ไม้ที่ขึ้นในพื้นที่น้ำท่วมขัง คอยอดสีแดงเด่นชัด กาบใบรูปท่อสีแดงยาว 70 – 100 เซนติเมตร ก้านใบและแกนกลางใบสีแดงยาวตลอดถึงปลายใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว 5 –10 เซนติเมตร แกนกลางใบยาว 1.6 – 2 เมตร มีใบย่อยเรียวยาว ขนาด 45 – 55 x 4 – 7 เซนติเมตร จำนวน 25 – 35 คู่ เรียงเป็นระเบียบสม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน ปลายใบแหลม หลังใบสีเขียวเข้มท้องใบสีเทาเงิน ช่อดอกออกใต้คอยอด (infrafolia) ห้อยลง ยาว 70 – 90 เซนติเมตร มีก้านช่อย่อยหลายอัน ดอกไม่มีก้านติดแน่นบนแกนกลางช่อ (spadix) ออกดอกประมาณ
เดือนสิงหาคม - เมษายน ผลขนาดเล็ก รูปไข่ผิวเรียบมัน ขนาด 6 x 10 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีดำ มี 1 เมล็ด ติดผลจำนวนมาก

แหล่งที่พบ : พบขึ้นในป่าพรุ




ปาล์มไผ่



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chamaedorea erumpeus H.E.Moore
ชื่อสามัญ : Bamboo palm
ชื่อวงศ์ : Arecaceae
ชื่ออื่น : ปาล์มไผ่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ปาล์มไผ่นี้เป็นปาล์มที่มีขนาดเล็กเจริญเติบโตช้านิยมปลูกประดับไว้ตามริมหน้าต่างข้างประตูเมื่อนำมาปลูกไว้ในอาคารบ้านเรือนจะมีความสูงประมาณ 1.20 - 1.50 ม.ปาล์มแตกหน่อ มีกอ ลำต้นขนาดเล็กเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัดเจน มีสีเขียวเป็นมันเหมือนลำต้นไผ่ ใบและก้านใบมีสีเขียวโดยเฉพาะใบมีลักษณะอ่อนช้อยคล้ายใบไผ่ยาวประมาณ 6 นิ้วและกว้างประมาณ 1 นิ้ว ปาล์มไผ่นี้สามารถประดับไว้ในที่ทึบแสง เป็นเวลานานๆและยังสามารถ นำเอาก้านและใบของมันมาใช้ประโยชน์ในการจัดดอกไม้และ ตกแต่งห้องหับได้อีกด้วยใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ มีสีเขียว และเป็นมัน ใบเรียวแหลมทรงอวบ เหนียว ทางใบยาวประมาณ 2 ฟุต ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกจะแซมออกตามข้อปล้องของลำต้นตรงส่วนยอด ๆ ผลมีสีเขียว พอแก่จะแตกเป็นสีม่วงดำ ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดอยู่เมล็ดเดียว เมล็ดขนาดเมล็ดเท่าถั่วลันเตา

การขยายพันธุ : แยกหนอ่ หรือเพาะเมล็ด
โรคและแมลง : ตามปกติจะไม่ค่อยมีแต่ช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งจะมีพวกเพลี้ยหอยและไรแดงบ้าง
การป้องกันกำจัด : ใช้ยาพวกมาลาไธออน (malathion) ไดอาซินอน (diazinon) ผสมน้ำฉีดพ่นให้ทุก ๆ 10-15 วัน จนกว่าจะหาย และยังทำให้ใบได้รับความชื้นในหน้าแล้งอีกด้วย
ประโยชน์ 1. ปลูกไว้ตามริมถนน และบริเวณสถานที่ต่างๆ
2. ปลูกเป็นไม้ประดับ

ประวัติของต้นปาล์ม




ปาล์ม เป็นภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ทับศัพท์เรียกว่า “ปาล์ม” จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
ปาล์ม..... ปลูกได้ในทุกฤดู
จำแนกได้กว่า 210 สกุล
และราว 3,800 ชนิด
ซึ่งสกุลของปาล์มจะมีประมาณ 4000 กว่าชนิด
ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น ปาล์มขวด ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
คนไทยส่วนใหญ่จึงคิดว่าต้นปาล์มเป็นพันธุ์ไม้ที่นำมาจากต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ทราบ พืชที่อยู่ในวงศ์ PALMAE นั้นมีจำนวนมากในประเทศไทย แต่คนไทยไม่ได้เรียกว่าปาล์ม เช่น มะพร้าว, ตาล, ลาน, หมาก, จาก, กะพ้อ, ค้อ ฯลฯ ในขณะเดียวกันมีต้นไม้วงศ์ PLAMAE หลายชนิดที่นำเข้ามาปลูกในบ้านเราคนไทยจึงตั้งชื่อเรียกเป็นภาษาไทยเพื่อง่ายต่อการจดจำ เช่น ตาลแดง (Latanialontaroides) ตาลฟ้า (Bismarckia nobikis) หมากนวล (Veitchiamerrilli) มะพร้าวแคระ (Syagrus schizophylla) ซึ่งต้นไม้ที่กล่าวมาล้วนเป็นพันธุ์ปาล์มทั้งสิ้น
ปาล์ม.....เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลใหญ่มากตระกูลหนึ่งที่มนุษย์รู้จักและใช้ประโยชน์มากเป็นอันดับสองรองจากพืชตระกูลหญ้าจะเห็นได้จาก
ถ้าปีใดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล หรือมีเห็นภัยต่าง ๆ เกิดขึ้น คนโบราณจะพูดเสมอ ๆ ว่า ปีนี้ข้าวจะยากหมากจะแพง มนุษย์ในภาคพื้นเอเชียนั้นได้อาศัยผลประโยชน์จากส่วนต่างๆของปาล์มอย่างมากมายที่สุด นับตั้งแต่อาหาร, ที่อยู่อาศัย, เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค ดังนั้น ถ้ากล่าวคำว่า “ปาล์ม” คือพืชในวงศ์

ปาล์ม (Genus Paim) เป็นพืชที่มีลักษณะเด่นนำมาสรุปพอสังเขปได้ดังนี้
พันธุ์ไม้วงศ์ปาล์มเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน
ปาล์มมีหลายชนิด้วยกัน บ้างเป็นพุ่ม บ้างเป็นต้น และเป็นไม้เลื้อย
เมล็ดเมื่องอก มีใบเลี้ยงเพียงใบเดียว ลำต้น มีเพียงยอดเดียว และไม่แตกต่างกิ่งก้านสาขา มีใบขนาดใหญ่แผ่นใบรูปฝ่ามือหรือรูปขนนกมีกาบและก้านใบชัดเจนและใบมักออกเป็นกลุ่มใหม่ ที่ปลายยอดลำต้น ใบอ่อนในระยะแรกรวมกันเป็น แท่งยาวคล้ายฟักดาบ ช่อดอกมีกาบหุ้ม การออกดอกในระยะแรกเรียกว่าแทงจั่น เมล็ดในระยะงอกส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเมล็ดจะขยายโตขึ้น เรียกว่า “จาว” ซึ่งเนื้อจะค่อยๆ สลายไป
ปาล์มส่วนใหญ่มีลักษณะเฉพาะที่เด่นชัด กล่าวคือลำต้นเป็นข้อ มีใบบนยอดเพียงที่เดียว ไม่แตกกิ่งก้าน มีก้านใบที่ยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน แต่ก็ไปรวมกลุ่มกันที่ปลายก้านที่เดียว อย่างไรก็ตาม ยังมีปาล์มอีกหลายชนิด ที่ไม่ได้มีลำต้นสูงพ้นดิน แต่ก็มีลักษณะใบแบบปาล์ม ทำให้สังเกตได้ไม่ยากนัก ทยาย

ปาล์ม

ปาล์ม


(ชื่อสามัญ palm ; ชื่อวิทยาศาสตร์ Palmae หรือ Arecacae )


พืชวงค์ใหญ่ที่สุด (รองจากหญ้า) ทั้งในแง่จำนวนของชนิด และปริมาณที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์


เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่แยกกิ่งก้านสาขา


ปาล์มสามารถเติบโตในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อนก็ตาม แต่ปาล์มสามารถเติบโตได้ตั้งแต่ละติจูด 30 องศาเหนือ ลงมาจนถึงละติจูด 30 องศาใต้