Palm-Plant
วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553
หมากสง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Areca catechu L.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวงศ์ : -
ชื่ออื่น : หมาก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 15 – 20 เซนติเมตร สูงถึง 25 เมตร ลำต้นเปลาตรง มีปล้องสีขาวเด่นชัด คอยอดสีเขียว กาบใบยาว ประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร ลักษณะเป็นท่อห่อหุ้มคอยอด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก(pinnate) แผ่นใบยาว 1.5 – 2 เมตร มีใบย่อย 20 – 30 คู่ ขนาด 30 – 60 x 3 – 7 เซนติเมตร ใบย่อยแบบรางน้ำคว่ำ (reduplicate)ปลายตัด หยักเป็นซี่ เรียงตัวสม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน ช่อดอกออกใต้คอยอด (infrafoliar) ตั้งขึ้น ช่อดอกแยกแขนง 3 ชั้นดอกแยกเพศอยู่ในช่อเดียวกัน บริเวณโคนก้านช่อหรือโคนก้านแขนงจะมีกลุ่มดอก ซึ่งประกอบด้วยดอกเพศเมีย 1 ดอก
ขนาบข้างด้วยดอกเพศผู้ 2 ดอก (triad) ส่วนตอนปลายก้านแขนง จะมีเฉพาะดอกเพศผู้ ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลรูปไข่ขนาด 4 – 6 x 7 – 8 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีส้ม ผลหนึ่งมี 1 เมล็ด
แหล่งที่พบ : พบขึ้นทั่วไปบริเวณที่ราบโล่ง และมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
ประโยชน์
1. เมล็ดช่วยขับปัสสาวะปวดท้องแน่นท้อง บิด แผลเน่าเปื่อย ฆ่าพยาธิ เปลือกผล ช่วยขับลม ขับปัสสาวะ
แก้ท้องอืดแน่น บิด ท้องเสีย ผลอ่อนช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้เมาอาเจียน ไอ สมานแผล ดอกตัวผู้ เป็นยาหอม บำรุง
กระเพาะ แก้กระหายน้ำ
2. ชาวบ้านนิยมเคี้ยวหมาก โดยนำ เปลือกผลและ เมล็ดอ่อน เคี้ยวร่วมกับพลู
วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปาล์มขวด
ปาล์มขวด
ชื่อสามัญ Royal palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Roystonea reqia
วงศ์ PALMAE
ถิ่นกำเนิด คิวบา (ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ ประจำชาติของประเทศคิวบา)
ลักษณะโดยทั่วไป
ลักษณะทั่วไป ปาล์มขวดนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ ตอนที่ยังเล็กอยู่จะป่องพองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้นอาการป่องพองนี้ก็จะไปเกิดที่กลางลำต้น โตเต็มที่
ลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร ใบยาว 3-5 เมตร ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกออกจากแกนกลางใบเป็นแถว มีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามขอบถนนหรือปลูกในสนามหญ้าก็ได้
การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ดเพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ ในระยะที่กำลังเจริญเติบโตจะต้องการน้ำมาก
ดิน ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ปีละ 2 ครั้ง
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่เป็นปัญหา
ปาล์มขวดยักษ์
ชื่อสามัญ : Caribbean Royal Palm
ชื่ออื่น : ปาล์มขวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea oleracea var.oleracea
ถิ่นกำเนิด : เวสต์อินเดีย
เป็นปาล์มขวดต้นที่สูงที่สุดในบรรดาปาล์มขวดด้วยกัน โคนป่องปลายเรียว ข้อห่างคอใบยาว เหมาะปลูกเป็นแถว และเป็นกลุ่ม
ชื่อสามัญ Royal palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Roystonea reqia
วงศ์ PALMAE
ถิ่นกำเนิด คิวบา (ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ ประจำชาติของประเทศคิวบา)
ลักษณะโดยทั่วไป
ลักษณะทั่วไป ปาล์มขวดนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ ตอนที่ยังเล็กอยู่จะป่องพองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้นอาการป่องพองนี้ก็จะไปเกิดที่กลางลำต้น โตเต็มที่
ลำต้นสูงประมาณ 20 เมตร ใบยาว 3-5 เมตร ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกออกจากแกนกลางใบเป็นแถว มีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามขอบถนนหรือปลูกในสนามหญ้าก็ได้
การขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ดเพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด
น้ำ ในระยะที่กำลังเจริญเติบโตจะต้องการน้ำมาก
ดิน ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้ปีละ 2 ครั้ง
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่เป็นปัญหา
ปาล์มขวดยักษ์
ชื่อสามัญ : Caribbean Royal Palm
ชื่ออื่น : ปาล์มขวด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea oleracea var.oleracea
ถิ่นกำเนิด : เวสต์อินเดีย
เป็นปาล์มขวดต้นที่สูงที่สุดในบรรดาปาล์มขวดด้วยกัน โคนป่องปลายเรียว ข้อห่างคอใบยาว เหมาะปลูกเป็นแถว และเป็นกลุ่ม
หมากนวล
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง สำหรับการเกษตร
http://organicmellow.blogspot.com/2013/09/organic-mellow.html
http://organicmellow.blogspot.com/2013/09/organic-mellow.html
ชื่อวงศ์ : Palmae
ชื่อสามัญ : Manila palm, Christmas palm
ชื่อพื้นเมือง : หมากคอนวล หมาเยอรมัน หมากมนิลา
ชนิดพืช [Plant Type] : ปาล์มต้นเดี่ยว
ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 15 เมตร
สีดอก [Flower Color] : สีเหลืองนวล
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ช้า
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง
แสง [Light] : แสงแดดจัด
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นสีน้ำตาลปนเทาขนาดประมาณ 25 เซนติเมตร มีคอสี
เขียวนวลยาว 30-50 เซนติเมตร มีรอยหลุดของก้านใบ ถี่ชัดเจน
ใบ (Foliage) : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 45-75
เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบสีเขียว
ดอก (Flower) : สีเหลืองนวล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงใต้โคนกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
ผล (Fruit) : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงกลมรี ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตร ติดผลจำนวนมาก ผลสุกสีีแดงส้ม
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย นิยมปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถว ริมถนน ริมทางเดิน ในสวนสาธารณะ ปลูกริมทะเลได้
วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553
หมากเขียว
ชื่อสามัญ Mac Arthur palm
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ptychosperma macarthuri
ตระกูล PALMAE
วงศ์ PALMAE
ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะนิวกินี
ลักษณะโดยทั่วไป
หมากเขียวนี้จะแตกหน่อขึ้นเป็นกอรอบลำต้นลักษณะของกอสูงประมาณ 10 - 20 ฟุต ลำต้นมีขนาด 3 - 4 นิ้ว มีสีเขียวปนเทาหรือน้ำตาลปนเทา เมื่อแก่มีข้อปล้องที่มองเห็นได้ชัดที่ลำต้นใบมีสีเขียวแก่ ส่วนใต้ใบสีเขียว อ่อนมีลักษณะรูปขนนก ทางใบยาวประมาณ 8 - 9 ฟุต ก้านใบยาว 1 - 2 ฟุต ใบย่อยยาวประมาณ 3 - 4 ฟุต ปลายใบตัดและเป็นฟันแหลม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก สามารถอยู่ได้ทั้งในร่มและกลางแดด
การดูแลรักษา
แสง ชอบแสงแดดจัด ควรปลูกเอาไว้กลางแจ้ง
น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
ดิน เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง
การขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ด แยกหน่อ
โรคและแมลง โรคไม่ค่อยพบ ส่วนมากจะพบเพลี้ยโดยเฉพาะหน้าร้อน
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออนหรือไดอาซินอนตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลาก
ศัตรูของปาล์ม
ปาล์มก็เป็นพันธุ์ไม้ที่มีศัตรูต่างๆ มากมายเช่นเดียวกับพันธุ์ไม้ทั่วๆ ไป โดยเฉพาะปาล์มที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์มาก มนุษย์สนใจและพบว่าปาล์มชนิดนั้นๆ มีศัตรูมากมาย ปาล์มอาจถูกศัตรูทำลายได้ตั้งแต่แรกเกิดจากเมล็ดเป็นต้นอ่อน จนต้นโต ถูกศัตรูทำลาย ลำต้น ใบ ดอก และผล ศัตรูที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มนั้นมีมากมายทั้งโรค แมลงและสัตว์อื่นๆ เช่น หนู ลิง นกบางชนิด ฯลฯ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็นศัตรูใหญ่ๆ 3 จำพวกด้วยกันคือ
1. พวกโรค ซึ่งมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อราและโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย และโรคที่มีสาเหตุอื่นๆ โรคที่เกิดจากพวก Parasitic และ saprophytic organisms เช่น
เชื้อราที่ทำให้เกิดการเน่า
โรคนี้จะเกิดกับปาล์มพวก Arecastrum romanzoffianum, มะพร้าว, Phoenix sylvestris, Serenoa repens, Phoenix canariensis, sabal palmetto, Arikutyroba schizophylla, และหมากสง อาการของโรคคือ ต้นปาล์มจะชะงักงันการเจริญเติบโต ใบร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วก็แห้งตายแล้วก็ค่อยๆ กินกับใบอื่นๆ ต่อไป ใบยอดจะสั้นลง จะมีอาการอยู่ประมาณเป็นเดือนหรือปีๆ แล้วในที่สุดก็ตาย โรคนี้แผ่ขยายเร็วมาก ถ้าเกิดแก่มะพร้าว ผลได้ของมะพร้าวจะลดลงทันทีน้ำมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและน้ำเหนียวขันขึ้น เชื้อราจะมี spore สามารถปลิวไปตามลม การป้องกันโรคนี้ทำได้ยาก ถ้าหากว่าเชื้อรานี้เกิดแก่ต้นปาล์ม ก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็น วิธีการป้องกัน ถ้าหากทราบว่าโรคนี้ได้ระบาดกับปาล์มแล้ว ก็ป้องกันต้นอื่นๆ โดยใช้ผงกำมะถันโรยบนดินรอบๆ ต้นปาล์ม ต้นที่เป็นแล้วให้เผาทำลาย
โรคลำต้นเน่า
ส่วนมากเกิดแก่พวก Washingtonia ใบปาล์มจะเน่าตายภายใน 3 เดือน นับจากใบที่อยู่ชิดกับต้นไม้ไปสู่ปลายใบ ถ้าเกิดแก่พวกกล้าปาล์ม จะเน่าตายภายใน 10 วัน จะเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสูงๆ
โรค Canker
2. พวกแมลง มีแมลงหลายสิบชนิด ทั้งแมลงตัวโตและแมลงตัวเล็กๆ ที่มองเกือบไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีแมลงหลายสิบชนิดที่เป็นอันตรายแก่ต้นปาล์ม อาจทำให้ปาล์มแคระแกรนไม่เจริญเติบโต ได้แก่
• เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย วิธีการป้องกัน กำจัดนั้นก็คือ ใช้ยาฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ ยาที่ฉีดกำจัดเพลี้ยหอยนั้นก็คือ พวกน้ำมัน Oil emulsion
• เพลี้ยแป้ง ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกัน วีธีการป้องกันกำจัดใช้วิธีเดียวกับการป้องกันเพลี้ยหอย
• เพลี้ยอ่อน มีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้งคือ ตัวมันจะขับถ่ายสารละลายลักษณะขี้ผึ้งสีขาวออกมารอบๆ ตัวเป็นสีขาวๆ เมื่อนานๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีดำฉาบอยู่ตามผิวหน้าส่วนของปาล์มที่ถูกเจาะดูดกินน้ำเลี้ยง การป้องกันกำจัดนั้นใช้ยาพาราไทออน
• พวกหนอนม้วนใบ เป็นพวกแมลงปากกัด ทำลายใบในลักษณะเป็นตัวหนอนกัดกินใบมีหลายชนิดด้วยกัน จะกินใบหมดเหลือแต่เส้นแกนกลางใบเท่านั้น
• พวกผีเสี้อกลางคืน มี 2 ชนิดด้วยกันที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มคือ
B.mathesoni กัดกินยอดมะพร้าวอ่อนๆ กัดกินในผล ทำให้ผลร่วงก่อนถึงกำหนด ยาที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกนี้ใช้ในระยะที่เป็นตัวหนอนกำลังกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม เช่นสารหนู ตะกั่ว
• พวกหนอนปลอก เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
• พวกด้วงปีกแข็ง เป็นศัตรูที่ร้ายกาจพวกหนึ่งที่ทำให้ปาล์มตายได้ วีธีการป้องกันก็คือ จัดสวนให้สะอาด อย่าไม้มีท่อนไม้ ตอไม้ตายเก่าๆ อยู่ใกล้เคียง ยาที่ใช้กำจัดแมลงพวกนี้คือพวก เบ็นชินเฮกศ่คลอไรด์
• พวกด้วงงวง พวกนี้เกิดแก่ พวก Sabal และปาล์มพวก Phoenix Canariensis, มะพร้าว การทำลายจะเห็นได้ชัดที่ใบอ่อนที่ยอดหักพับแตกกระจายลง วีธีการป้องกันโดยทำความสะอาดสวน ไม่ปล่อยให้มีตอไม้ ท่อนไม้ผุๆ หญ้ารกๆ พบตัวอ่อนทำลายเสีย คนไทยใช้วิธีป้องกันมะพร้าวจากด้วงชนิดนี้ โดยใช้ทรายผสมกับเกลือ โรยตามคอกาบใบของมะพร้าว
• พวกมวน เกิดแก่ปาล์มขวด ลักษณะปีกใสบางมีเส้นคล้ายร่างแห การป้องกัน ใช้พ่นด้วยยาคลอเดน
• พวกปลวก เกิดแก่ลำต้นปาล์มที่แก่ๆ และมีเปลือกผุตายแล้ว วิธีป้องกัน คือ พยายามบำรุงปาล์มให้เจริญเติบโตแข็งแรง สะอาด และอาจใชัยาออลดริน ฉีดพ่น
• พวกเพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อนของปาล์ม โดยเฉพาะพวกปาล์มขวด จะทำให้ใบเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และน้ำตาล ในที่สุดก็แห้งตาย วิธีการป้องกัน ฉีดด้วยยาดีลดริน ในรูปสารละลายปนน้ำมันหรือพ่นเป็นยาผง
• พวกไร ส่วนมากเกิดแก่ปาล์มขวด โดยเฉพาะที่ใบอ่อน จะทำให้ตายในที่สุด วิธีป้องกัน คือ ใช้กำมะถันผงพ่นแห้ง หรือเป็นน้ำก็ได้
• พวกตั๊กแตน เป็นศัตรูที่ร้ายกาจอย่างหนึ่งของปาล์ม โดยเฉพาะปาล์มที่ยังมีขนาดเล็ก ถ้าหากมีมากๆ จะกัดกินใบขาดและหมดแม้แต่แกนกลางใบก็หมด กัดกินตลอดทั้ง 24 ช.ม. วิธีการป้องกัน ฉีดยาพ่นตามใบ หรือใช้เหยื่อพิษล่อ
3. พวกศัตรูอื่นๆ ได้แก่
หมูป่า ในต่างจังหวัดนั้นการปลูกมะพร้าวมักจะถูกหมูป่าเข้ามาขุดคุ้ยกัดกินต้นมะพร้าวที่อ่อนๆ เสียหาย
กระรอก ทำลายมะพร้าวให้เสียหายอย่างมาก โดยเจาะรูตามกาบใบ และเจาะผลมะพร้าวกินเนื้อภายใน
การป้องกันหมูป่านั้นอาจทำกับดัก หรือมีลวดล้อมรอบโคนต้น ป้องกันกระรอก ใช้ปลอกสังกะสีหุ้มลำต้น
กิ้งก่า มาทำรังในกระถางออกไข่ ออกลูก แล้วกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน
หนูบ้าน เป็นศัตรูชนิดหนึ่งที่ชอบขโมยเมล็ดปาล์มที่เพาะไว้ไปกิน
1. พวกโรค ซึ่งมีทั้งโรคที่เกิดจากเชื้อราและโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย และโรคที่มีสาเหตุอื่นๆ โรคที่เกิดจากพวก Parasitic และ saprophytic organisms เช่น
เชื้อราที่ทำให้เกิดการเน่า
โรคนี้จะเกิดกับปาล์มพวก Arecastrum romanzoffianum, มะพร้าว, Phoenix sylvestris, Serenoa repens, Phoenix canariensis, sabal palmetto, Arikutyroba schizophylla, และหมากสง อาการของโรคคือ ต้นปาล์มจะชะงักงันการเจริญเติบโต ใบร่วงเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วก็แห้งตายแล้วก็ค่อยๆ กินกับใบอื่นๆ ต่อไป ใบยอดจะสั้นลง จะมีอาการอยู่ประมาณเป็นเดือนหรือปีๆ แล้วในที่สุดก็ตาย โรคนี้แผ่ขยายเร็วมาก ถ้าเกิดแก่มะพร้าว ผลได้ของมะพร้าวจะลดลงทันทีน้ำมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและน้ำเหนียวขันขึ้น เชื้อราจะมี spore สามารถปลิวไปตามลม การป้องกันโรคนี้ทำได้ยาก ถ้าหากว่าเชื้อรานี้เกิดแก่ต้นปาล์ม ก่อนที่จะแสดงอาการให้เห็น วิธีการป้องกัน ถ้าหากทราบว่าโรคนี้ได้ระบาดกับปาล์มแล้ว ก็ป้องกันต้นอื่นๆ โดยใช้ผงกำมะถันโรยบนดินรอบๆ ต้นปาล์ม ต้นที่เป็นแล้วให้เผาทำลาย
โรคลำต้นเน่า
ส่วนมากเกิดแก่พวก Washingtonia ใบปาล์มจะเน่าตายภายใน 3 เดือน นับจากใบที่อยู่ชิดกับต้นไม้ไปสู่ปลายใบ ถ้าเกิดแก่พวกกล้าปาล์ม จะเน่าตายภายใน 10 วัน จะเกิดขึ้นเมื่อมีความชื้นสูงๆ
โรค Canker
เกิดขึ้นแก่ลำต้นปาล์มพวก Arecastrum, เกิดจากเชื้อราพวก nematodes โรคนี้ทำให้เกิดเน่าที่กาบใบ และทำให้เกิดเน่าที่ตายอด
โรค Red ring
เกิดแก่มะพร้าว เกิดจากไส้เดือน Aphelenchoides cocophilus เช่นพวก nenatodes เกิดแก่ปาล์มที่ต้นยังเล็กอยู่ อาการที่เกิดขึ้นทำให้ขอของลำต้นมีสีแดงน้ำตาล การป้องกันทำลาย เผาต้นที่เกิดโรคนี้ และหาทางป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน
โรค Red ring
เกิดแก่มะพร้าว เกิดจากไส้เดือน Aphelenchoides cocophilus เช่นพวก nenatodes เกิดแก่ปาล์มที่ต้นยังเล็กอยู่ อาการที่เกิดขึ้นทำให้ขอของลำต้นมีสีแดงน้ำตาล การป้องกันทำลาย เผาต้นที่เกิดโรคนี้ และหาทางป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอยในดิน
2. พวกแมลง มีแมลงหลายสิบชนิด ทั้งแมลงตัวโตและแมลงตัวเล็กๆ ที่มองเกือบไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีแมลงหลายสิบชนิดที่เป็นอันตรายแก่ต้นปาล์ม อาจทำให้ปาล์มแคระแกรนไม่เจริญเติบโต ได้แก่
• เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย วิธีการป้องกัน กำจัดนั้นก็คือ ใช้ยาฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ ยาที่ฉีดกำจัดเพลี้ยหอยนั้นก็คือ พวกน้ำมัน Oil emulsion
• เพลี้ยแป้ง ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกัน วีธีการป้องกันกำจัดใช้วิธีเดียวกับการป้องกันเพลี้ยหอย
• เพลี้ยอ่อน มีลักษณะคล้ายเพลี้ยแป้งคือ ตัวมันจะขับถ่ายสารละลายลักษณะขี้ผึ้งสีขาวออกมารอบๆ ตัวเป็นสีขาวๆ เมื่อนานๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีดำฉาบอยู่ตามผิวหน้าส่วนของปาล์มที่ถูกเจาะดูดกินน้ำเลี้ยง การป้องกันกำจัดนั้นใช้ยาพาราไทออน
• พวกหนอนม้วนใบ เป็นพวกแมลงปากกัด ทำลายใบในลักษณะเป็นตัวหนอนกัดกินใบมีหลายชนิดด้วยกัน จะกินใบหมดเหลือแต่เส้นแกนกลางใบเท่านั้น
• พวกผีเสี้อกลางคืน มี 2 ชนิดด้วยกันที่เป็นอันตรายแก่ปาล์มคือ
B.mathesoni กัดกินยอดมะพร้าวอ่อนๆ กัดกินในผล ทำให้ผลร่วงก่อนถึงกำหนด ยาที่ใช้ป้องกันกำจัดแมลงพวกนี้ใช้ในระยะที่เป็นตัวหนอนกำลังกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม เช่นสารหนู ตะกั่ว
• พวกหนอนปลอก เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
• พวกด้วงปีกแข็ง เป็นศัตรูที่ร้ายกาจพวกหนึ่งที่ทำให้ปาล์มตายได้ วีธีการป้องกันก็คือ จัดสวนให้สะอาด อย่าไม้มีท่อนไม้ ตอไม้ตายเก่าๆ อยู่ใกล้เคียง ยาที่ใช้กำจัดแมลงพวกนี้คือพวก เบ็นชินเฮกศ่คลอไรด์
• พวกด้วงงวง พวกนี้เกิดแก่ พวก Sabal และปาล์มพวก Phoenix Canariensis, มะพร้าว การทำลายจะเห็นได้ชัดที่ใบอ่อนที่ยอดหักพับแตกกระจายลง วีธีการป้องกันโดยทำความสะอาดสวน ไม่ปล่อยให้มีตอไม้ ท่อนไม้ผุๆ หญ้ารกๆ พบตัวอ่อนทำลายเสีย คนไทยใช้วิธีป้องกันมะพร้าวจากด้วงชนิดนี้ โดยใช้ทรายผสมกับเกลือ โรยตามคอกาบใบของมะพร้าว
• พวกมวน เกิดแก่ปาล์มขวด ลักษณะปีกใสบางมีเส้นคล้ายร่างแห การป้องกัน ใช้พ่นด้วยยาคลอเดน
• พวกปลวก เกิดแก่ลำต้นปาล์มที่แก่ๆ และมีเปลือกผุตายแล้ว วิธีป้องกัน คือ พยายามบำรุงปาล์มให้เจริญเติบโตแข็งแรง สะอาด และอาจใชัยาออลดริน ฉีดพ่น
• พวกเพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงใบอ่อนของปาล์ม โดยเฉพาะพวกปาล์มขวด จะทำให้ใบเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง และน้ำตาล ในที่สุดก็แห้งตาย วิธีการป้องกัน ฉีดด้วยยาดีลดริน ในรูปสารละลายปนน้ำมันหรือพ่นเป็นยาผง
• พวกไร ส่วนมากเกิดแก่ปาล์มขวด โดยเฉพาะที่ใบอ่อน จะทำให้ตายในที่สุด วิธีป้องกัน คือ ใช้กำมะถันผงพ่นแห้ง หรือเป็นน้ำก็ได้
• พวกตั๊กแตน เป็นศัตรูที่ร้ายกาจอย่างหนึ่งของปาล์ม โดยเฉพาะปาล์มที่ยังมีขนาดเล็ก ถ้าหากมีมากๆ จะกัดกินใบขาดและหมดแม้แต่แกนกลางใบก็หมด กัดกินตลอดทั้ง 24 ช.ม. วิธีการป้องกัน ฉีดยาพ่นตามใบ หรือใช้เหยื่อพิษล่อ
3. พวกศัตรูอื่นๆ ได้แก่
หมูป่า ในต่างจังหวัดนั้นการปลูกมะพร้าวมักจะถูกหมูป่าเข้ามาขุดคุ้ยกัดกินต้นมะพร้าวที่อ่อนๆ เสียหาย
กระรอก ทำลายมะพร้าวให้เสียหายอย่างมาก โดยเจาะรูตามกาบใบ และเจาะผลมะพร้าวกินเนื้อภายใน
การป้องกันหมูป่านั้นอาจทำกับดัก หรือมีลวดล้อมรอบโคนต้น ป้องกันกระรอก ใช้ปลอกสังกะสีหุ้มลำต้น
กิ้งก่า มาทำรังในกระถางออกไข่ ออกลูก แล้วกัดกินใบอ่อนยอดอ่อน
หนูบ้าน เป็นศัตรูชนิดหนึ่งที่ชอบขโมยเมล็ดปาล์มที่เพาะไว้ไปกิน
ประโยชน์ของปาล์ม
1. อาหารจากปาล์ม ในการประกอบอาหารส่วนใหญ่จะใช้น้ำมันที่ผลิตจากผลของปาล์ม มะพร้าวให้กะทิ และน้ำมัน น้ำตาลจากมะพร้าว ตาลจากอินทผลัม แป้งจากสาคู และลูกชิด ฯลฯ
2. ที่อยู่อาศัย โดยใช้ส่วนต่างๆ ของปาล์มมาเป็นที่อยู่อาศัยก่อนพันธุ์ไม้ชนิดอื่นๆ เช่น การนำใบจากมามุ้งหลังคา ต้นมาหมาก ต้นเหลา ซะโอนใช้ทำเสาบ้านเรือน ต้นมะพร้าวทำพื้น และฝาบ้าน นอกจากนี้ยังใช้หวายผูกมัดในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
3. เครื่องนุ่งห่ม ปาล์มมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้อมสีเครื่องนุ่งห่ม ผลของปาล์มนำมาเป็นส่วนผสมในการย้อมสี เช่น หมากสง ปาล์มบางชนิดก็มีเส้นใยมากพอที่จะนำมาทำเครื่องนุ่งห่มได้เช่นกัน
4. ยารักษาโรค ปาล์มหลายชนิดสามารถใช้เป็นยารักษาโรคได้อาจจะใช้ในรูปที่สกัดออกมาเป็นทิงเจอร์หรือเป็นน้ำมัน ยาไทยโบราณหลายชนิดใช้หลากจากปาล์มเป็นส่วนผสมอยู่มาก เช่น รากหมาก แก้ร้อนใน เนื้อในของหมากใช้สมานแผล แก้ท้องร่วง ใบหมากแก้ไข น้ำมะพร้าวเป็นยาบำรุงครรภ์และใช้ถอนพิษเบื่อเมา น้ำมันมะพร้าวผสมและปรุงยาและน้ำมันนวดแก้ฟกซ้ำ รักษาบาดแผลและฝี แขนงช่อดอกของตางตัวผู้หรือเรียกว่าวงศ์ตาล ใช้ปรุงเป็นยาแก้ตาลขโมย เป็นต้น
5. การใช้ปาลืมเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงามในการตกแต่งสถานที่ต่าง ๆ นั้น เนื่องจำปาล์มมีลักษณะให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมตามความรู้สึกของผู้ใช้และผู้พบเห็น มีลักษณะสวยงามตกแต่งกันมากมายนับตั้งแต่ต้นเล็ก ต้นขนาดกลาง ต้นใหญ่ เป็นกอเป็นพุ่ม ต้นโต สูงชะลูด เป็นเถาเลื้อย รูปร่างลักษณะของใบก็มีให้เลือกใช้ได้หลายประการหลายชนิดทั้งขนาดและสีสัน จึงสามารถที่จะเลือกและนำมาตกแต่งสถานที่ทั้งขนาดใหญ่หรือ ขนาดเล็กใช้ได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม ซึ่งมักจะมีต้นปาล์ม เข้าไปเป็นส่วนประกอบที่เพิ่มความงดงามอยู่เสมอ นอกจากนั้นปาล์มยังสามรถนำมาปลูกในกระถางแล้วนำไปวางประดับภายในอาคารใช้เป็นไม้ในร่มได้เป็นอย่างดี มีลีลาที่สวยงามไม่แพ้ไม้ประดับในร่มชนิดอื่น ๆ เช่นกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)